คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม ๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินโครงการ
-
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายจัดทำโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน โดยจะส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ซึ่งจะดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี, ระยอง และฉะเชิงเทรา ด้วยการแบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเขตพัฒนาเมืองสำหรับแผนงานการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจะประกอบด้วย ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ทางเรือ ได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด ทางถนน ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา และทางราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง โดยมีโครงการที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้แก่1.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 3 ล้านคนต่อปี และจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินในภาคตะวันออก2.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เพื่อรองรับจำนวนตู้สินค้า 18 ล้าน TEUต่อปี (จากเดิม 7 ล้านTEUต่อปี) และรองรับการส่งออกรถยนต์ 3 ล้านคันต่อปี3.โครงการท่าเรือมาบตาพุด รองรับการลงทุนในภาคปิโตรเคมี 360,000 ล้านบาทใน 5 ปี4.โครงการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เพื่อรองรับนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว 3 ล้านคนต่อปี5.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบินหลัก คือ สนามบินดอนเมือง, สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา รองรับผู้โดยสาร 100,000 คนต่อวัน6.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เชื่อมโยงแหล่งอุตสาหกรรมและท่าเรือ7.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทางแหลมฉบัง-นครราชสีมา และเส้นทางชลบุรี-ตราดนอกจากนี้ ยังมีแผนดำเนินการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม (โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี สิทธิการเช่าที่ดิน และการจัดหาแรงงาน) การจัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จการลงทุน (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในการขออนุมัติอนุญาตการประกอบกิจการและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ การประกาศเป็นเขตปลอดภาษี การจัดหาที่ดินและระยะเวลาเช่าที่ดิน ระยะเวลาพำนักและทำงานของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงิน การใช้เงินตราต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมการเงิน และการจัดตั้งกองทุนในพื้นที่ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น