บัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก (1)

บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยเท่านั้น  
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน เพื่อพิสูจน์และยืนยันบุคคล ในการติดต่อราชการ
การขอรับบริการหรือสวัสดิการ  ในด้านต่าง ๆ ทำนิติกรรม ฯลฯ เช่น การสมัครงาน
การขอเปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร  การโอนสังหาริมทรัพย์
หรืออสังหาริมทรัพย์  เป็นต้น
คุณสมบัติ
ผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวครั้งแรก
1.1  ผู้ที่มีอายุ 7 ปีบริบูรณ์  ตั้งแต่วันที่  10 กรกฏาคม 2554  เป็นต้นไป
(เกิดตั้งแต่ 10 กรกฏาคม 2547)  ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ภายใน 60 วัน
1.2  ผู้ที่มีอายุ  7 ปี  แต่ไม่เกิน  15 ปีอยุ่ก่อนแล้วก่อนวันที่ 10 กรกฏาคม 2554
(เกิด 9 กรกฏาคม 2539 ถึง 9  กรกฏาคม  2547  ต้องทำบัตรภายใน 1 ปี
(ถึง 9 กรกฏาคม  2555)
1.3 หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

(1)สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิสำเนาทะเบียนนักเรียน
หนังสือเดินทาง เป็นต้นที่แสดงได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
(3)หากไม่มีเอกสารตามข้อ(2) ให้นำบุคคลซึ่งมีหน้าที่อื่นคำขอแทน(บิดา มารดา
ผู้ปกครองหรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้นั้นอยู่หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง)
(4)กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา
มาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายที่ถึงแก่กรรมไปแสดง

 

 

“บุคคลที่น่าเชื่อถือ” หมายถึง บุคคลใดๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคง
และมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้